โดยโอกาสและความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับ ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยในปี 2567 คือ
รายงาน Global Trade Outlook and Statistics ฉบับเดือนตุลาคม 2566 ขององค์การการค้าโลกคาดการณ์การเติบโตของการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกในปี 2567 ไว้ที่ 3.3% ตามประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 2.5%
อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในอดีต และมีระดับที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ตามศักยภาพของระบบเศรษฐกิจสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์และพิจารณาอย่างรอบคอบ และดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง
ทั้งสงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ความไม่สงบในอิสราเอล ซึ่งนำมาสู่ความไม่ปลอดภัยทางการขนส่งในทะเลแดงสู่คลองสุเอซ ตลอดจนสงครามการค้าและความพยายามแบ่งแยกห่วงโซ่อุปทานระหว่างสหรัฐฯและจีน ยังคงเป็นประเด็นความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ต้องคำนึงถึงในปี 2567 เนื่องจากส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศโดยตรง และยังส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น น้ำมันดิบ จึงอาจกระทบต่อต้นทุนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์อย่างยากจะหลีกเลี่ยง
สถานที่เก็บสินค้ารายใหญ่ของโลกหลายรายเร่งกระบวนการผู้ส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในธุรกิจของตน ทั้งการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีบล็อคเชนในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถติดตามสินค้าได้แบบเป็นปัจจุบัน รวมถึงความพยายามผลักดันสู่การขนส่งสินค้าไร้กระดาษตลอดกระบวนการ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลก็ยังต้องคำนึงถึงความปลอยภัยไซเบอร์ควบคู่กันเสมอ เนื่องจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องหลายส่วนควรเก็บเป็นความลับ
เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกยังจำเป็นต้องร่วมกันแก้ปัญหา และอุตสาหกรรมการขนส่งซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด ก็ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ โดยหลายประเทศเริ่มพิจารณามาตรการให้ตรวจสอบปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งรวมเข้ากับส่วนของสินค้า และอาจใช้มาตรการลักษณะเดียวกันกับ CBAM ของสหภาพยุโรป
รวมถึงความพยายามในการผลักดันการลดการปลดปล่อยคาร์บอนขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ซึ่งมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้ก็อาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปัญหาเงินเฟ้อจะเริ่มคลี่คลายลงแล้ว แต่ธนาคารกลางหลายประเทศก็ยังคงอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการและกำลังซื้อของผู้บริโภค ประเด็นนี้จึงยังคงเป็นปัจจัยจำกัดการเติบโตของเศรษฐกิจ และการค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นผลกระทบถึงธุรกิจโลจิสติกส์ซึ่งทำหน้าที่รองรับการค้าด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันภาคบริการมีอิทธิพลและอุตสาหกรรมรวมกัน โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53 ในปี 2513 เป็นร้อยละ 67 ในปี 2564 ทำให้ภาคบริการเป็นภาคส่วนสำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
จากผลการศึกษาของศูนย์การค้านานาชาติ (International Trade Center : ITC) ระบุว่า ภาคบริการที่เชื่อมต่อกัน หรือ Connected Services เป็นหัวใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมี 4 ภาคบริการที่เป็นหลักสำคัญในการพัฒนา ได้แก่ การขนส่งและโลจิสติกส์ การบริการทางการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการบริการธุรกิจและบริการเฉพาะกิจ (Business and professional services)
เนื่องจากบริการดังกล่าวให้บริการแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบธุรกิจ การพัฒนาภาคบริการข้างต้นจึงจะเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจอื่นๆที่ได้รับบริการ เช่น ธุรกิจที่สามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินที่มีคุณภาพ ร้อยละ 46 มักจะสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาได้บ่อยครั้งกว่า
ในขณะที่ธุรกิจที่สามารถเข้าถึงการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพสูง ร้อยละ 58 มีเว็บไซส์ของตนเอง โดยผลลัพธ์ทางตรงจากการพัฒนาภาคบริการที่เชื่อมต่อกันเหล่านี้คือการเพิ่มการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคบริการดังกล่าว ซึ่งมีผลลัพธ์ทางอ้อมคือการที่ภาคบริการอื่นๆซึ่งได้รับการบริการที่ดีจากภาคบริการที่เชื่อมต่อกันข้างต้น ให้มีการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไปด้วย
Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s standard dummy text ever since the 1500s