ความหมายของคำว่า “โลจิสติกส์” นักวิชาการหลายๆท่าน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ได้ให้ความหมายไว้นั้น สามารถสรุปได้ว่า โลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการไหลหรือการเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ รวมถึงข้อมูลสารสนเทศและการเงิน จากจุดกำเนิดหรือจุดต้นทาง คือผู้จัดส่งวัตถุดิบ ไปยังจุดที่มีการบริโภคหรือจุดปลายทาง คือ ลูกค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นองค์กรประกอบหนึ่งการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics)
โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) ประกอบไปด้วยการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากแหล่งกำเนิดไปสู่บริษัทที่ทำการผลิต ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการจัดส่งวัตถุดิบ ได้แก่ การบริหารการขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การบริหารการสั่งซื้อ และการบริหารข้อมูลการจัดหาวัตถุดิบ
โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) หมายถึง การรวบรวมชิ้นส่วนหรือสินค้าจากผู้ส่งมอบเพื่อจัดส่งไปที่โรงงานผู้ผลิตหลัก (Maker) โดยมุ่งให้เกิดต้นทุนต่ำสุดซึ่งปัจจัยต้นทุนประกอบด้วยปริมาณสินค้าคงคลังประสิทธิภาพการรับของและระยะทางขนส่งทั้งขาไปและกลับ รูปแบบการจัดส่งอาจจำแนกเป็นการส่งตรงไปที่โรงประกอบเลยหรือส่งไปที่จุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock) เพื่อรวบรวมแล้วค่อยกระจายส่งอีกที (โกศล ดีศีลธรรม, 2554)
โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดเก็บ และการส่งมอบวัตถุดิบและชิ้นส่วนไปยังกระบวนการผลิตในโรงงานหรือธุรกิจต่างๆโลจิสติกส์ขาเข้าเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มุ่งเน้นในเรื่องของการจัดซื้อจัดหา การกำหนดตารางการไหลเข้าของวัตถุดิบ เครื่องมือ และสินค้าขั้นสุดท้ายจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบไปยังฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้า รวมถึงร้านค้าปลีก (Surbhi S, 2017)
ความหมายของโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics)
โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ออกจากโรงงานไปยังลูกค้า ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการกระจายสินค้า ได้แก่ การบริหารการขนย้ายสินค้า การบริหารคลังสินค้าสำเร็จรูป การกำหนดที่ตั้งคลังสินค้า การบริหารการจัดการด้านคำสั่งซื้อ และการบริหารข้อมูลด้านสภาวะตลาดของผลิตภัณฑ์
โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) หมายถึง การกระจายสินค้าที่ผลิตเสร็จจากโรงงานสู่ตัวแทน จำหน่ายหรือลูกค้า นั่นคือ จากโรงงานถึงคลังเก็บสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า หลังจากนั้นจะส่งต่อไปยังผู้จัดจำหน่าย แต่สิ่งแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้ากับขาออก คือ การส่งสินค้าออกไม่ใช่รูปแบบทันเวลาพอดี หรือตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยที่รถส่วนใหญ่จะถูกจอดไว้ในลานจอดรถ คือ รถที่รอการสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่าย (โกศล ดีศีลธรรม, 2554)
วิเคราะห์หัวใจสำคัญของความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก
จากความหมายของโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก ดังกล่าว สามารถนำมาวิเคราะห์หัวใจสำคัญของความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติก์ขาออกได้ดังนี้
การปรับตัวของธุรกิจในการพัฒนาโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก
เนื่องจากโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่มีส่วนสำคัญต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายได้อย่างถูกต้องในเวลาที่กำหนด โดยจะเห็นได้ว่า โลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออกเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างองค์กรหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน โดยในส่วนของโลจิสติกส์ขาเข้า เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างต้นน้ำและกลางน้ำของห่วงโซ่อุปทาน นั่นคือ การเชื่อมต่อระหว่างผู้จำหน่ายวัตถุดิบกับผู้ผลิต และในส่วนของโลจิสติกส์ขาออก เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างกลางน้ำและปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทาน นั่นคือ การเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัวโดยการให้ความสำคัญต่อพัฒนากระบวนการในกิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก โดยการวิเคราะกิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออกเพื่อหาจุดที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนา ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงความเชื่อมโยงของกิจกรรมที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s standard dummy text ever since the 1500s