เซ็นทรัลแล็บไทย จับมือ BOP เพิ่มมาตรฐานสินค้าส่งออกในพื้นที่ EEC

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือเซ็นทรัลแล็บไทย ร่วมกับ บริษัท บีโอพี เอ็กซ์เพรส จำกัด จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างมาตรฐานเพื่อการส่งออก สร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการนำเข้า – ส่งออกสินค้าในพื้นที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนามาตรฐานสินค้าและการสนับสนุนทางธุรกิจ และเปิดจุดรับตัวอย่างสำนักงานสาขาฉะเชิงเทราในพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีนายชาคริต เทียบเธียรรัตน์ กรรมการผู้อำนวยการ เซ็นทรัลแล็บไทย นายสมชาติ ศรีเรือง ผู้อำนวยการสำนักงานสาขาฉะเชิงเทรา และนางภษิมา ชาภักจานนท์และนายธนัช ชาภักจานนท์ บริษัท บีโอพี เอ็กซ์เพรส จำกัด และนายวีรชาติ พุทธรักษา ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ท่าเรือแหลมฉบัง ร่วมงานโดยได้รับเกียรติจากนายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษ ถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่อำเภอแหลมฉบังรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ นายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา กล่าวว่า อำเภอศรีราชา ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะภาคการส่งออก มีท่าเรือแหลมฉบังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการขนส่งสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ มีการขยายด้านการคมนาคมรองรับการเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนภาคการเกษตร และการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทุกช่วงวัยและผู้ประกอบการ ให้ตระหนักถึงการสร้างมาตรฐานของสินค้า […]

บีโอพี เอ็กซ์เพรส จับมือ ม.บูรภา จัดโครงการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์

ได้มีพีธีเปิดโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ที่คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา กับนายธนัช ชาภักจานนท์ และนายวรวิทย์ เหลืองมณีวุฒิ กรรมการผู้จัดการบริษัท บีโอพี เอ็กซ์เพรส จำกัด  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือEEC โดยจะให้มีการอบรมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ แจ้งข่าวสารหรือความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงสร้างความร่วมมือทางองค์กรที่จะส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านโลจิสติกส์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้ประกอบการต่างๆซึ่งเป็นผู้ที่มีกิจกรรมด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าอยู่เป็นประจำ รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นการเป็นผู้นำเข้าสินค้าหรือส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ                นอกจากความรู้ที่จะได้รับจากการฝึกอบรมแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมยังจะได้รับประกาศนียบัตรที่ออกโดยคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพาอีกด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เข้าร่วมอบรมนั้นท่านคือผู้หนึ่งที่มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเสมอ และจะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในการทำงานทางด้านโลจิสติกส์สำหรับทุกๆสถานประกอบการในภาคตะวันออก                คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยทลัยบูรพานั้น เป็นคณะโลจิสติกส์แห่งแรกของประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่จัดให้มีการเรียนการสอนด้านโลจิสติกส์ การเดินเรือ ธุรกิจทางทะเลและการขนส่งทางทะเล โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2543 ในชื่อ “วิทยาลัยพาณิชย์นาวี” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยการขนส่งและโลจิสติกส์” ในวันที่ 3 มิถุนายน 2548 และเปลี่ยนฐานะเป็น “คณะโลจิสติกส์” ตั้งแต่วันที่ 4 […]

4 ประโยชน์ของการบริหารธุรกิจขนส่งด้วยแนวคิด ESG

ปัจจุบันมีข้อมูลของบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์หลายแห่งชี้ว่า ผลตอบแทนในระยะยาวสำหรับการลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด ESG จะมีความยั่งยืนและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าบริษัทที่แสวงผลกำไรเท่านั้น ดังนั้นบริษัทที่สามารถระบุปัจจัย ESG ที่มีความสำคัญต่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่นเหนือคู่แข่งอย่างชัดเจน ESG คืออะไร ESG คือ การดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญแก่ 3 ปัจจัย ได้แก่ การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environmental) เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างของเสีย การปล่อยมลพิษ ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) เช่น ความเป็นอยู่และค่าตอบแทนของพนักงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่น การกำกับดูแลกิจการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Governance) เช่น การบริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้                เมื่อโลกกำลังเผชิญวิกฤตการณ์และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก จึงเชื่อว่าแนวคิด ESG จะเป็นทางออกที่ช่วยยกระดับของโลกใบนี้ให้ดีขึ้นในทุกมิติ และช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจได้ในระยะยาว ด้วยการผลักดันทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ให้ตระหนักและร่วมมือร่วมใจกันให้ความสนใจและคำนึงถึงหลัก ESG ในการดำเนินธุรกิจ และการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าและบริการ รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการทำงานขององค์กร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับสังคม สิ่งแวดล้อม และโลกที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต                นอกจากนี้ ESG […]

5 โอกาสและความท้าทายของธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ในปี2567

โดยโอกาสและความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับ ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยในปี 2567 คือ การค้าระหว่างประเทศฟื้นตัวต่อเนื่อง                รายงาน Global Trade Outlook and Statistics ฉบับเดือนตุลาคม 2566 ขององค์การการค้าโลกคาดการณ์การเติบโตของการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกในปี 2567 ไว้ที่ 3.3% ตามประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 2.5%                อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในอดีต และมีระดับที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ตามศักยภาพของระบบเศรษฐกิจสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์และพิจารณาอย่างรอบคอบ และดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์                ทั้งสงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ความไม่สงบในอิสราเอล ซึ่งนำมาสู่ความไม่ปลอดภัยทางการขนส่งในทะเลแดงสู่คลองสุเอซ ตลอดจนสงครามการค้าและความพยายามแบ่งแยกห่วงโซ่อุปทานระหว่างสหรัฐฯและจีน ยังคงเป็นประเด็นความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ต้องคำนึงถึงในปี 2567 เนื่องจากส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศโดยตรง และยังส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น น้ำมันดิบ จึงอาจกระทบต่อต้นทุนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์อย่างยากจะหลีกเลี่ยง การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและความปลอดภัยไซเบอร์                สถานที่เก็บสินค้ารายใหญ่ของโลกหลายรายเร่งกระบวนการผู้ส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในธุรกิจของตน ทั้งการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีบล็อคเชนในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถติดตามสินค้าได้แบบเป็นปัจจุบัน รวมถึงความพยายามผลักดันสู่การขนส่งสินค้าไร้กระดาษตลอดกระบวนการ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลก็ยังต้องคำนึงถึงความปลอยภัยไซเบอร์ควบคู่กันเสมอ เนื่องจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องหลายส่วนควรเก็บเป็นความลับ […]

ขั้นตอนในการนำเข้าแล้วส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

 ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากโรงงานของผู้ผลิตสินค้า หรือสถานที่ของผู้ส่งออก (Exporter) เมื่อทำการผลิตสินค้าและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเสร็จเรียบร้อย พร้อมที่จะทำการส่งออกแล้ว จะทำการติดต่อบริษัทตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า (Freight Forwarder Company) หรือสายการเดินเรือ (Shipping Line) โดยตรงเพื่อทำการจองระวางเรือ (Freight) จากเมืองท่าต้นทางไปยังเมืองท่าปลายทาง ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้รับใบยืนยันการจองระวางเรือ (Booking Confirmation) จากตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า หรือสายเรือเรียบร้อย ผู้ส่งออกจะทำการขนส่งสินค้าจากสถานที่ของผู้ส่งออกไปยังท่าเรือต้นทาง ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในใบยืนยันการจองระวางเรือ ขั้นตอนที่ 3 ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศผู้ส่งออกมีหน้าที่จะต้องดำเนินการผ่านพิธีการทางศุลกากรขาออกทุกครั้ง โดยสามารถดำเนินการด้วยตนเองหรือว่าจ้างบริษัทตัวแทนออกของ (Customs Broker) เพื่อให้ดำเนินการผ่านพิธีการแทน โดยบริษัทตัวแทนออกของจะติดต่อขอรับเอกสารเพื่อดำเนินการในเรื่องการยื่นใบขนสินค้าออก                เอกสารที่ผู้ส่งออกควรจัดเตรียมในการผ่านพิธีการศุลกากร                (1)  ใบขนสินค้าขาออก ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ                (2) บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 2 ฉบับ                (3) แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) ธต.1 […]

ตามให้ทันกับเทรนด์ขนส่งสินค้าที่คุณอาจยังไม่เคยรู้

หลังผ่านสถานการณ์โควิด -19 ที่ระยะเวลานานกว่า 3 ปี พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เป็นการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และสั่งสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ประกอบกับการปรับตัวของธุรกิจต่างๆทั้งแบบขายส่งและขายปลีก ที่หันมาเปิดหน้าร้านออนไลน์เพิ่มขึ้น เพิ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ในไทยและทั่วโลกมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่การขนส่งสินค้าชิ้นใหญ่ ขนส่งพัสดุ หรือบริการขนย้ายของ แต่การขนส่งห้องเย็นก็กลายเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งตลาด E- Commerce เติบโตขึ้นเท่าไหร่ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก็เติบโตและเพิ่มโซลูชันเพื่อตอบโจทย์การขนส่งมาขึ้นเท่านั้น                ในทางกลับกัน สำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างความโดดเด่นและแตกต่างกว่าธุรกิจอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน นอกจากมีการตลาดที่ดี การรู้จักเทรนด์โลจิสติกส์และเข้าใจรูปแบบบริการขนย้ายสินค้าในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการลดระยะเวลาการจัดส่งสินค้าให้รวดเร็วและครบวงจร ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด   เทรนด์การขนส่งสินค้าที่คุณไม่ควรพลาด ขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ                สินค้าควบคุมอุณหภูมิส่วนใหญ่ คงจะหนีไม่พ้นอาหารทะเล อาหารปรุงสำเร็จ แช่แข็ง หรือแม้กระทั่งเมนูพิเศษต่างๆรวมไปถึงยารักษาโรค ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในแง่การขยายฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น เพราะรถขนส่งควบคุมอุณหภูมิจะช่วยรักษาความสดใหม่ของสินค้าได้ยาวนานขึ้น สามารถขนส่งได้ไกลขึ้น ทำให้ในปัจจุบันการขนส่งสินค้าแช่เย็นกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ และบริการติดตั้ง                หนึ่งในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลังสถานการณ์โควิด -19 คือ การปรับตัวของหลายๆบริษัทที่ให้พนักงาน Work From Home […]

ทำความรู้จักระบบโลจิสติกส์ และความสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจ

ประเทศไทยรับเป็นประเทศที่ได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยกำลังกลายเป็นที่จับตามอง จากรายงานของศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาประเมินว่า ภายในปี 2565-2567 ธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนของประเทศไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 3-5% สอดคล้องกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หน่วยงานในกำกับของ กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่าธุรกิจโลจิสติกส์ไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นมูลค่า 827.12 ล้านบาท หรือ9.97% ของการลงทุนในประเทศ ในปี 2565 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนีประเทศตลาดเกิดใหม่ด้านโลจิสติกส์ในอันดับ 8 จากความสำคัญที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานโลก เป็นฐานการผลิตที่ดึงดูดนักลงทุน และมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือ เป็นประเทศที่มีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และเพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความพร้อมในการเดินหน้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก นวัตกรรมเทคโนโลยี จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำเราไปสู่จุดนั้นได้ ภาพรวมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย เส้นทางสู่เวทีเศรษฐกิจระดับโลก ทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย สามารถมองเห็นสัญญาณการเติบโตที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างชัดเจน เนื่องจากประเทศไทยค่อนข้างได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน มีจุดเชื่อมต่อกับประเทศจีน และประเทศอินเดีย จึงเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการให้บริการในอนาคต ที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ดังนั้นข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ที่ได้ประเมินว่า ศักยภาพของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยภายในปี 2570 จะเป็นรองเพียงแค่ประเทศจีน และประเทศอินเดีย ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการผลิตรายใหญ่ระดับโลก ส่วนประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ในอนาคตจะมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ จึงสามารถยกระดับศักยภาพของประเทศด้วยความพร้อมที่ได้เปรียบทั้งด้านภูมิศาสตร์และนโยบายในการดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติ ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย ได้ระบุว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีการเติบโตขึ้นถึง 15% […]

ทิศทางนวัตกรรมเทคโนโลยีปี 2024 ที่พัฒนาขึ้นเพื่อธุรกิจโลจิสติกส์โดยเฉพาะ

ประเทศไทยรับเป็นประเทศที่ได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยกำลังกลายเป็นที่จับตามอง จากรายงานของศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาประเมินว่า ภายในปี 2565-2567 ธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนของประเทศไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 3-5% สอดคล้องกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หน่วยงานในกำกับของ กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่าธุรกิจโลจิสติกส์ไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นมูลค่า 827.12 ล้านบาท หรือ9.97% ของการลงทุนในประเทศ ในปี 2565 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนีประเทศตลาดเกิดใหม่ด้านโลจิสติกส์ในอันดับ 8 จากความสำคัญที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานโลก เป็นฐานการผลิตที่ดึงดูดนักลงทุน และมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือ เป็นประเทศที่มีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และเพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความพร้อมในการเดินหน้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก นวัตกรรมเทคโนโลยี จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำเราไปสู่จุดนั้นได้ ภาพรวมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย เส้นทางสู่เวทีเศรษฐกิจระดับโลก ทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย สามารถมองเห็นสัญญาณการเติบโตที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างชัดเจน เนื่องจากประเทศไทยค่อนข้างได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน มีจุดเชื่อมต่อกับประเทศจีน และประเทศอินเดีย จึงเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการให้บริการในอนาคต ที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ดังนั้นข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ที่ได้ประเมินว่า ศักยภาพของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยภายในปี 2570 จะเป็นรองเพียงแค่ประเทศจีน และประเทศอินเดีย ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการผลิตรายใหญ่ระดับโลก ส่วนประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ในอนาคตจะมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ จึงสามารถยกระดับศักยภาพของประเทศด้วยความพร้อมที่ได้เปรียบทั้งด้านภูมิศาสตร์และนโยบายในการดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติ ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย ได้ระบุว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีการเติบโตขึ้นถึง 15% […]

ธุรกิจโลจิสติกส์ และเทคโนโลยีที่น่าสนใจ

Logistics คืออะไร Logistics คืองานบริการขนส่งสินค้า มีเป้าหมายเพื่อขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางด้วยวิธีการขนส่งทางน้ำ ทางบกหรือทางอากาศ รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ เพื่อนำส่งไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย โลจิสติกส์เป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความสำคัญต่อ Supply Chain เป็นอย่างมาก อาจจะดูเหมือนเป็นงานที่ง่าย แต่ในความเป็นจริงกระบวนการจัดส่งสินค้านั้นต้องใช้เงินทุน จึงจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการจัดการเพื่อขนส่งสินค้านั้นต้องใช้เงินทุน จึงจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการจัดการเพื่อขนส่งสินค้าในต้นทุนที่ต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้ประกอบการจำนวนมากมักเลือกใช้บริการโลจิสติกส์เพื่อให้เป็นสื่อกลางในส่งสินค้าของตนไปยังลูกค้าแทนที่จะบริหารจัดการด้านการขนส่งเอง Logistics Management 4ปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดการด้านโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเคลื่อนย้าย (Movement) การเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นกระบวนการสำคัญและจำเป็นต้องจัดการให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้พนักงานขนส่งทำงานได้ง่ายใช้พื้นที่บนรถขนส่งอย่างคุ้มค่า ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น การจัดเก็บ (Storage) การจัดเก็บคือการวางแผนการเก็บรักษาสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมสินค้าที่ได้จากการขนส่งจำนวนน้อยหลายๆครั้งเข้าด้วยกัน เพื่อรวมเป็นสินค้าขนาดใหญ่ หรือการแยกสินค้าให้มีจำนวนที่เล็กลง เป็นต้น การจัดเก็บสินค้าได้ดี จะช่วยลดต้นทุนขององค์กรด้านค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ (Storage cost) การรวบรวม (Consolidation) เป็นการขนส่งแบบรวมสินค้าหลายประเภท และหลายลูกค้าไว้ในรถขนส่งคันเดียวกัน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ผู้ให้บริการขนส่งจะไปรับสินค้าที่ต้นทางหลายๆแห่ง แล้วนำมารรวมไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้า หลักจากนั้นจะจัดเส้นทางการขนส่ง และเติมสินค้าให้เต็มรถ เพื่อนำไปส่งตามลำดับเส้นทางที่วางแผนไว้ การกระจาย (Distribution) การกระจายสินค้าเป็นกิจกรรมที่ต้องวางแผนให้ดีเพื่อให้ส่งสินค้าได้ถูกต้อง ตรงตามจำนวน เวลา สถานที่ […]

สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ด้วยกลยุทธ์ Ecosystem

ปัจจุบันการทำธุรกิจที่ดำเนินแต่เพียงผู้เดียวแบบดั้งเดิมไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอีกต่อไป ทางรอดขององค์กรยุคใหม่ในการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน คือ ธุรกิจต้องสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและลดความเสี่ยงลง เช่น การสร้างคู่ค้าหรือพันธมิตรที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจด้วยการทำธุรกิจแบบระบบนิเวศ   รู้จักระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem)                รู้จักระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) คือ รูปแบบโมเดลทางธุรกิจและกลยุทธ์รูปแบบใหม่ ซึ่งออกแบบโครงสร้างการดำเนินธุรกิจให้มีสินค้าและบริการที่ครบถ้วน ครบวงจร และเชื่อมโยงภายใต้เครือข่ายเดียวกัน เป้าหมายคือเพื่อให้ลูกค้าเกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่องและยังคงอยู่ภายใต้สินค้าและบริการของธุรกิจตลอดเครือข่าย                ความสำคัญและองค์ประกอบของการทำธุรกิจแบบ Ecosystem ไม่ใช่แค่การเพิ่มประสิทธิภาพภายในธุรกิจหลักขององค์กร หรือในซัพพลายเชนขององค์กรเท่านั้น แต่ต้องมองไปถึงภาพรวมทั้งระบบนิเวศที่อยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน เช่น กลุ่มธุรกิจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แรงงาน องค์กรภาครัฐ นโยบายกฎเกณฑ์ และผู้บริโภค                การจัดรูปแบบ Ecosystem ขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจแต่ละประเภท หากองค์กรธุรกิจใดมีทรัพยากรมากเพียงพอ อาจจะสร้างทรัพยากรทางธุรกิจและสินค้าและบริการต่างๆขึ้นมาเอง และให้ลูกค้าใช้บริการจากเครือข่ายที่สร้างขึ้นมาภายใต้ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) หรือองค์กรธุรกิจเลือกสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ใช้การร่วมมือกับพันธมิตร(Ecosystem Partnerships) เพื่อทำการค้าร่วมกัน ช่วยยกระดับศักยภาพการทำธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น ขยายตลาดและลดความเสี่ยงในการดำเนินการเอง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจสังคมได้ทันต่อเวลาและความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว                ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากระบบ Ecosystem คือเพิ่มกำลังการแข่งขันและการเติบโตในอุตสาหกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การประหยัดต้นทุนด้านทรัพยากรจากการใช้งานร่วมกันให้ได้ประโยชน์สูงสุด […]

1 2